วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

สถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสุพรรณบุรี


ตลาดเก้าห้อง

บริเวณด้านหน้าของตลาดเก้าห้อง

คำว่า เก้าห้อง จะหมายถึงขนาดของตัวบ้าน ไม่ใช่ว่าข้างในบ้านกั้นเป็นเก้าห้อง แต่คือแต่ละช่วงเสาจะเรียกเป็น 1 ห้อง ยิ่งมากห้องก็แสดงว่าบ้านหลังยิ่งใหญ่ แสดงถึงฐานะของเจ้าของบ้าน


ป้ายบอกทางตลาดเก้าห้อง


หอดูโจร

หอดูโจรถูกสร้างขึ้นมา เพราะเจ้าของตลาด คือ เถ้าแก่ฮง หรือชื่อไทยว่า นายบุญรอด แกเป็นคนจีนที่มาตั้งรกรากอยู่ที่นี่ มีอาชีพทั้งงานก่อสร้างพวกเจดีย์ตามวัดที่มีฝีมือ แล้วยังเก่งเรื่องค้าขายจนร่ำรวยอีกด้วย แต่อาจเพราะชื่อเสียงความร่ำรวยทำให้แกถูกโจรบุกปล้น จนถึงกับฆ่าเมียแกตาย ตอนหลังแกก็ริเริ่มที่จะย้ายตลาดมาอยู่บนบกด้วยการสร้างเรือนแถวไม้ขึ้นมา แล้วก็สร้างหอดูโจรขึ้นมาป้องกันโจรผู้ร้ายที่จะเข้าปล้นด้วย ซึ่งก็ได้ผลเสียด้วย ไม่เคยมีโจรมาบุกปล้นอีกเลย




ตลาดร้อยปี





 เป็นตลาดห้องแถวไม้ 2 ชั้นขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณบุรี(ท่าจีน) และรายล้อมด้วยบรรยากาศของบ้านเรือนรวมถึงเรื่องราวของผู้คนในอดีต โดยแทบไม่มีการดัดแปลงเสริมแต่ง ย้อนอดีตกลับไปยุคสมัยที่ตลาดสามชุกเฟื่องฟู ยุคนั้นชาวบ้านจะนำของพื้นเมือง รวมทั้ง เกลือ ฝ้าย แร่ สมุนไพร มาแลกเปลี่ยนซื้อขายให้กับพ่อค้าที่เป็นชาวเรือ




ต่อมาเมื่อริมแม่น้ำสุพรรณ กลายเป็นแหล่งทำนาที่สำคัญ มีโรงสีไฟขนาดใหญ่เกิดขึ้นหลายแห่ง ตลาดสามชุกก็กลายเป็นตลาดข้าวที่สำคัญ มีการค้าขายกันอย่างคึกคัก ทำให้ตลาดสามชุกไม่จำกัดบริเวณอยู่เฉพาะริมน้ำ แต่ยังขยายมาถึงริมฝั่ง โดยแต่ละปีมีการเก็บภาษีได้จำนวนมาก พร้อมๆกับมีการตั้งนายอากรคนแรก ชื่อ “ขุนจำนง จีนารักษ์”



ช่วงเวลาเฟื่องฟูของตลาดสามชุกกินเวลานานหลายสิบปี แต่หลังจากที่มีการตัดถนนผ่านสามชุก ผู้คนเปลี่ยนไปใช้ถนนเป็นเส้นทางสัญจรมากขึ้น ส่งผลให้ วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และการค้าที่ตลาดสามชุกเริ่มซบเซา แต่ตลาดสามชุกก็ยังคงดำเนินวิถีของตลาดห้องแถวไปอย่างต่อเนื่อง



ด้วยความที่ วิถีชีวิตและลักษณะทางกายภาพของชุมชนตลาดสามชุกมีกาลเปลี่ยนแปลงน้อยมาก แม้ว่าจะผ่านกาลเวลามานับร้อยปี เหตุนี้ประชาคมชาวตลาดสามชุกจึงได้มีการปรับปรุง ฟื้นฟู และร่วมกันอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไม้ของตลาดสามชุกไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม รวมทั้งพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และแหล่งเรียนรู้ของชุมชน เพื่อให้ตลาดสามชุกกลับมีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้ง



บ้านหลังนี้เป็นบ้านของขุนจำนง จีนารักษ์ ซึ่งเป็นนายภาษีอากรคนแรกและเป็นเจ้าของตลาดสามชุก ได้สร้างบ้านหลังนี้เมื่อ พ.ศ. 2459 ใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนในครอบครัว รวมทั้งเป็นที่ต้อนรับและพักอาศัยของผู้หลักผู้ใหญ่และแขกบ้านแขกเมืองหลายคนค่ะ”



การเดินทาง สู่ตลาดสามชุก จากกรุงเทพฯ ผ่าน อ. บางบัวทอง จ. นนทบุรี ไปจนถึงตัว จ.สุพรรณบุรี ระยะทางประมาณ 107 กม. จากนั้นไปตามหลวงหมายเลข 340 แยกเข้า อ. สามชุก ตัวตลาดอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณติดกับที่ว่าการอำเภอสามชุก




วัดพระนอน



ตั้งอยู่ที่ตำบลพิหารแดง อำเภอเมืองห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 3 กม. เป็นวัดเก่าแก่
สมัยอู่ทองสุพรรณภูมิ ที่ปรักหักพังแล้ว และได้บูรณะขึ้นใหม่ ในสมัยปัจจุบัน มีรูปปั้นพระนอน
  ในลักษณะนอนหงาย สร้างเท่าขนาดคนจริงสมัยโบราณ มีเพียงองค์เดียวในประเทศไทย
ลักษณะเหมือนพระนอน ที่เมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย

ที่วัดพระนอนนี้ มีแม่น้ำท่าจีน ไหลผ่าน ท่านเจ้าอาวาส ได้เลี้ยงปลาไว้ ตั้งแต่ปี 2516

มีทั้งปลาสวาย ปลาตะเพียน ปลาแรด ปลาตะโกก ปลายี่สก จำนวนนับแสนตัว






วัดป่าเลไลย์








ประวัติ หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร

หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองสุพรรณมาแต่โบราณกาล ตามพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้ากาแลโปรดให้บูรณะวัดป่าเลไลยก์ เมื่อ พ.ศ. 1724 แสดงว่าแสดงว่าวัดนี้ได้สร้างมาแล้วก่อนหน้านั้น

องค์พระ"หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์"ประดิษฐานอยู่ในวิหารที่สูงใหญ่ มองเห็นเด่นแต่ไกล เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองปาง ป่าเลไลยก์ขนาดใหญ่สูง 23 เมตรเศษ สร้างตามแบบศิลปอู่ทองรุ่นที่สอง ซึ่งเป็นศิลปะฝีมือสกุลช่างอู่ทองแท้ ๆ เดิมทีองค์พระประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง พระหัตถ์ขวาหัก ช่างได้สร้างวิหารครอบ โดยให้ผนังวิหารชิดกับพระ หัตถ์ขวา ส่วนทางพระหัตถ์ซ้ายให้มีที่ว่าง ด้านหลังองค์พระสร้างชิดกับผนังวิหารทำให้แข็งแรง นับเป็นความ ชาญฉลาดของช่างเป็นอย่างยิ่ง
มีผู้สันนิษฐานว่า หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์เดิมเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ประทับนั่งอยู่กลางแจ้ง พระกรทั้งสองข้างหักหายไป ผู้ที่มาบูรณใหม่ได้ทำเป็นปางป่าเลไลยก์ตามที่นิยมกันในสมัยหลัง ลักษณะประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระชานุข้างซ้าย พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุข้างขวาในท่าทรงรับของถวาย พระวิหารที่สร้างครอบองค์พระ สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ จะเห็นว่าที่หน้าบันของพระวิหาร มีพระราชลัญจกรประจำพระองค์ คือเป็นรูปพระมหามงกุฎอยู่ระหว่างฉัตรคู่ปรากฎอยู่


หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย






เวลาเปิด - ปิด

 เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.30 - 18.00 น.
....ค่าธรรมเนียมเข้าชม
ผู้ใหญ่ 20 บาท
อาหาร
ภายในหมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย มีอาหารจำหน่าย

การเดินทาง


ขอเริ่มจาก วัดป่าเลไลยก์


ออกจากวัดป่าเลไลยก์ ให้ท่านเลี้ยวขวามือไปทางตัวเมือง ขับตรงไปประมาณ 3.3 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายไปจังหวัดชัยนาท ขับตรงไปประมาณ 1.7 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าถนน 340 ขับตรงไปประมาณ 19.4 กิโลเมตร ท่านจะพบป้ายบอกทาง ( ถ้าตรงไปจะไปจังหวัดชัยนาท เลี้ยวขวาไปอำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง ) ให้ท่านขับตรงไปประมาณ 400 เมตร ท่านจะพบป้ายบอกทางอีก ( ถ้าตรงไปจะไปจังหวัดชัยนาท เลี้ยวขวาไปอำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง ) ให้ท่านเลี้ยวขวาไปทางอำเภอแสวงหา จากนั้นขับตรงไปประมาณ 300 เมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าไปจอดที่ลานจอดรถ


อุทยานแห่งชาติพุเตย



อุทยานแห่งชาติพุเตย มีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณที่ดินป่าองค์พระ ป่าเขาพุระกำ และป่าเขาห้วยพลู ในท้องที่ตำบลองค์พระ ตำบลห้วยขมิ้น ตำบลนิคมกระเสียว ตำบลวังยาว และตำบลด่านช้าง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ประกอบด้วยป่าที่สมบูรณ์ เทือกเขาสลับซับซ้อนมีความลาดชันมาก ส่วนที่สูงที่สุดเรียกว่า ยอดเขาเทวดา มีระดับความสูง 1,123 เมตร เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายสาย มีป่าสนสองใบธรรมชาตที่สวยงาม เหมาะที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ มีเนื้อที่ประมาณ 317.475 ตารางกิโลเมตร หรือ 198,422 ไร่


ประวัติความเป็นมา




เนื่องด้วยกรมป่าไม้ ได้พิจารณาเห็นว่าพื้นที่ป่าไม้ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าองค์พระ ป่าพุระกำ ป่าเขาห้วยพลู ท้องที่อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเดิมเป็นวนอุทยานพุเตย วนอุทยานพุกระทิง วนอุทยานเตรียมการตะเพินคลี่ และป่าไม้ข้างเคียง มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ สมควรที่จะอนุรักษ์ไว้ ดังนั้น กรมป่าไม้จึงมีคำสั่ง ที่ 1224/2537 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 โดยให้ นายพันเทพ อันตระกูล นักวิชาการป่าไม้ 6 ไปดำเนินการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติม และจัดตั้งวนอุทยานพุเตย วนอุทยานพุกระทิง ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าองค์พระ ป่าพุระกำ จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อไปดำเนินการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมและจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยทำหน้าที่เป็นหัวหน้าอุทยานแห่งชาติ จากผลการสำรวจพบว่าประกอบไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ ป่า ภูเขา เกาะ และน้ำตกที่สวยงามยิ่ง สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมมิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป

สถานที่น่าสนใจ

ป่าสนสองใบ







น้ำตกตาด ( ใหญ่ )




น้ำตกตาด ( ใหญ่ ) จากทางแยกศาลเลาด้าห์ไปป่าสนสองใบธรรมชาติ อีกด้านหนึ่งเดินทางเข้าไปตามป่าสมบูรณ์ ธรรมชาติเต็มไปด้วย ต้นไม้ สัตว์ป่าชุกชุม เดินตามร่องห้วยไปทางเท้าเข้าหมู่บ้านกกเชียง ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี อีกประมาณ 4 กิโลเมตร ก็จะพบน้ำตกตาด ( ใหญ่ ) เป็นน้ำตกที่มีบรรยากาศร่มรื่นเย็นมาก มีพืชชั้นล่างพันธุ์ไม้ เฟิร์น มอส เกาะตามรากไม้ กิ่งไม้ ดูเขียวขจี น้ำตกมีหลายชั้นใกล้กัน แต่ละชั้นมีแอ่งหรืออ่างธรรมชาติไม่ลึก นักท่องเที่ยวสามารถลงไปเล่นน้ำตกหรือตั้งแคมป์พักผ่อนได้อย่างสบายใจและปลอดภัย


น้ำตกตะเพินคลี่


น้ำตกตะเพินคลี่ อยู่เลยไปจากน้ำตกพุกระทิง โดยใช้เส้นทางจากทุ่งมะกอกไปบ้านป่าผาก แล้วเลี้ยวซ้ายขึ้นเขาไปบ้านตะเพินคลี่ ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยงเก่าแก่ อยู่ติดเขตแนวกันชนมรดกโลก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เป็นหมู่บ้านปลอดอาวุธทุกประเภท น้ำตกตะเพินคลี่ห่างจากหมู่บ้านเล็กน้อย เป็นน้ำตกที่สวยงามที่สุด มีน้ำตก ไหลตลอดปี มองจากน้ำตกจะเห็น ยอดเขาเทวดา สูง 1,123 เมตร น้ำตกแห่งนี้เคยมีการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวที่สำคัญของทางจังหวัดสุพรรณบุรี



แผนที่ที่ตั้งอุทยานแห่งชาติพุเตย










 



































































 







 







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น